โตเกียว 2020 ทัวร์นาเมนต์สีเขียวแห่งการรักษ์โลก

ข่าวกีฬา

ระหว่างที่กีฬาโอลิมปิก 2020 โตเกียว กำลังดำเนินการแข่งขันอยู่นั้น ก็เกิดอุทกภัยแผ่นดินทรุด และน้ำท่วมในหลายประเทศทางทวีปยุโรป และยังเกิดฝนพันปีทำให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศจีนด้วย คำพูดที่ว่าน้ำจะท่วมโลก และสิ้นสุดมนุษย์ชาติ ออกมาจากความคิดโดยฉับพัน จริงหรือไม่ แล้วเหลือเวลาอีกแค่ไหน เราไม่รู้คงต้องให้นักวิทยาศสาสตร์พูด แต่มันมีบางส่วนที่ดูเชื่อมโยงกับกีฬาโอลิมปิก 2020 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชูภาพเอาไว้ก่อนหน้าว่า

มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ ขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นมิตรต่อโลกมากที่สุดเท่าที่เคยมี ช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ได้ถูกยกมาเป็นประเด็นสำคัญ เมื่อมันส่งผลกระทบอย่างหนักต่อโลกใบนี้ คลื่นความร้อนที่แผ่ไปทั่วทวีปยุโรป ได้ส่งผลทำให้น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของโลก ละลายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหลายแสนล้านตัน ไหลลงมหาสมุทร ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และเพื่อไม่ให้โลกของเราต้องบอบช้ำไปกว่านี้ ในโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวจะได้เป็นเจ้าภาพเป็นครั้งที่ 2 ขอสัญญาว่า ทัวร์นาเมนต์นี้จะเป็นการแข่งขันที่รักษ์โลกที่สุด 

คิดย้อนแล้วชั่งเหมาะเจาะเหลือเกิน ประเทศญี่ปุ่นเขาทำได้อย่างไร กับการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ญี่ปุ่นมีปรัชญาในการทำงานที่เรียกว่า “ไคเซ็น” มันคือกลยุทธ์บริหารงานแบบชาวอาทิตย์อุทัยตั้งแต่ดั้งเดิม และเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้ครั้งหนึ่ง ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กโทรนิกส์ ในช่วงทศวรรษ 1970 หลักสำคัญของปรัชญาไคเซ็น คือ การมีส่วนร่วมของทุกคน เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านสินค้าและการบริการ แน่นอนว่า สิ่งนี้ได้ฝังรากลึกอยู่ในความคิดของชาวญี่ปุ่น 

ในฐานะที่ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 2 พวกเขาจึงตั้งเป้าที่จะทำให้การแข่งขันครั้งนี้ ดีกว่าตอนที่ได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 1964 และดีกว่าโอลิมปิกครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยแนวคิดหลักครั้งนี้คือ การเป็นทัวร์นาเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด “ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การหยุดปล่อยก๊าซคาร์บอน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในระดับโลก” ข้อตกลงมีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2020 แต่เนื่องผู้คนยังอาศัยอยู่ในสังคมแบบใหม่ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย สิ่งสำคัญคือ

เราสามารถตรวจสอบก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาได้ และหาทางเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดมัน จากสถิติการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน มีการปล่อยคาร์บอน เป็นจำนวนถึง 3.45 ล้านตัน ส่วนโอลิมปิก 2016 ที่เมืองริโอก็ไม่น้อยหน้า เมื่อมีคาร์บอนถูกปล่อยออกมาถึง 3.56 ล้านตัน และโอลิมปิก 2020 โตเกียวครั้งนี้ คาดกันว่าจะมีก๊าซคาร์บอนถูกปล่อยออกมาราว 3.01 ล้านตัน นับเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างมาก กีฬาก็แข่งขันกันไป แต่เรื่องการบริหารจัดการทุกอย่างก็สำคัญ คราวหน้าเราจะมาว่าด้วยเรื่องแผนการ และมาตรการพิเศษที่ทำให้โอลิมปิกเกมส์ 2020 ลุล่วงผ่านไปได้ด้วยดีแบบมาตรฐาน เจแปน กันครับ