เมื่อพูดถึงฟุตซอล UFABET ในเอเซียเราต้องยกให้ อิหร่าน เป็นประเทศที่เก่งมากในกีฬาชนิดนี้ หลายคนฟังดูแล้วอาจแปลกใจว่าทำไมชาติอาหรับที่เคร่งศาสนาประเทศนี้ จึงมีนักฟุตซอลเก่งๆ ความเก่งกาจของทีมชาติอิหร่านในกีฬาฟุตซอลแสดงแสนยานุภาพอีกครั้ง ในวันที่พวกเขาเอาชนะไทยในเกมนัดชิงแชมป์เอเชียที่ผ่านมา นี่คือความเก่งที่เราต้องยอมรับและเคารพ แม้เราจะทำการบ้านมาดีแค่ไหนแล้วก็ตามคำถามก็คือ อิหร่าน เป็นมหาอำนาจด้านฟุตซอลได้ยังไงทั้งที่พวกเขาเริ่มเล่นฟุตซอลหลังทีมชาติไทยด้วยซ้ำ? วันนี้มาหาคำตอบของเรื่องนี้กับเราที่นี่
การเอาจริงเอาจังตั้งแต่วันแรก ย้อนเวลาไปฟุตซอลโลกครั้งแรกจัดแข่งขันขึ้นในปี 1989 โดยในช่วงเวลานั้น สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ “ฟีฟ่า” ได้เล็งเห็นประโยชน์ในกีฬาฟุตซอลที่อยู่เป็นญาติพี่น้องคู่ขนานกับฟุตบอลมาอย่างยาวนาน ถ้าหากมีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการทั้งระดับทวีปและระดับโลก จะทำให้ความนิยมสูงขึ้นได้และทำให้ฟุตบอลได้ประโยชน์ไปด้วย เหตุผลที่วงการฟุตบอลจะได้ประโยชน์จากฟุตซอลก็เพราะว่า รากฐานของฟุตซอลก็มาจากฟุตบอลนั่นแหละ
ฟุตซอลเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดไม่ว่าจะด้วยเรื่องสภาพอากาศ สภาพสนาม และจำนวนผู้เล่น จึงมีการย่อขนาดสนามลงและไปเตะในโรงยิม (Indoor) ซึ่งประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาใต้ต่างก็เล่นฟุตซอล (สตรีทฟุตบอล หรือ ฟุตบอล 5 คน) มาตั้งแต่ก่อนเข้าสูศตรวรรษที่ 19 นู้นแล้ว ดังนั้นฟุตซอลจึงเปรียบเสมือนสนามเริ่มต้นสำหรับนักฟุตบอลหลายคนๆ มันเป็นเวทีที่ทำให้นักเตะได้ใช้พื้นฐานและฝึกเทคนิคอย่างเต็มที่
เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างพื้นฐานในการเลี้ยง ส่ง ยิง ก่อนที่จะไปเติมเขี้ยวเล็บในด้านแท็คติก ในวันที่นักเตะเหล่านั้นจะเติบโตขึ้นมาเป็นนักฟุตบอลที่เล่นในสนามใหญ่ 11 คน นักเตะระดับโลกยุคปัจจุบันหลายคนต่างผ่านสังเวียนฟุตซอลมาทั้ง โรนัลดินโญ่ อันเดรียส อิเนียสต้า โรนัลโด้(R9) เนย์มาร์ วินิซิอุส จูเนียร์ เควิน เดอ บรอยน์ และคนอื่นๆ อีกมากมายต่างก็เคยออกมาพูดว่า ฟุตซอลทำให้พวกเขามีทักษะที่ดีขึ้นและการตัดสินใจที่เร็วขึ้น
สิ่งเหล่านี้ช่วยได้มากเวลาที่พวกเขาต้องไปเล่นฟุตบอล 11 คนสนามใหญ่ “สนามฟุตซอลเป็นสถานที่ที่มีหลายสิ่งในการสร้างคุณสมบัตินักฟุตบอลที่ดี ผมเองก็ได้ประโยชน์ด้านการฝึกทักษะต่างๆ ความเร็ว และความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งมันช่วยให้ผมแตกต่างในเวลาที่เติบโตขึ้นไปเล่นฟุตบอลสนามใหญ่” อิเนียสต้า นักเตะที่คว้าทุกแชมป์ที่ยิ่งใหญ่บนโลกนี้กล่าว
เมื่อมีมุมมองว่าฟุตบอลคือรากของฟุตซอล และฟุตซอลก็เป็นรากของฟุตบอล ทั้ง 2 กีฬาต่างพึ่งพากันในแง่ใดแง่หนึ่ง ฟีฟ่า จึงเข้ามาดูแลและมีการจัดงบประมาณส่งเสริมให้กับชาติต่างๆ ให้พัฒนาทีมฟุตบอลของตัวเอง โดยหลังจากฟุตซอลโลกปี 1989 ที่เนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพครั้งนั้นที่มีทีมเข้าร่วม 16 ทีมจาก 6 ทวีปเปรียบเสมือนโครงการนำรองที่ไม่ได้มีการแข่งขันรอบคัดเลือก แต่มีการเลือกเอาชาติที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับ ฟีฟ่า มาแข่งขันกัน
โดยในครั้งนั้น บราซิล ได้แชมป์โลกสมัยแรกไปครองและมีอีกหลายทีมที่ปัจจุบันไม่ค่อยปรากฎชื่อในวงการฟุตซอลแล้ว อาทิ ซาอุดิอาระเบีย เบลเยียม ซิมบับเว แอลจีเรีย ออสเตรเลีย แคนาดา หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา หลังจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกปี 1989 จบลง ฟีฟ่า ตัดสินใจเพิ่มงบประมาณและมีการสนับสนุนหลายๆ ด้านให้กับชาติที่สนใจจะเข้ามาเป็นสมาชิก โดยมีเป้าหมายว่าการแข่งชิงแชมป์โลกในปี 1992 จะต้องมีทีมที่เก่งขึ้นมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ อิหร่าน ยกมือขอเป็นสมาชิกและเริ่มรันวงการฟุตซอลของพวกเขาตั้งแต่วันนั้น เช่นเดียวกับทีมชาติไทยของเราด้วย เอาจริงตั้งแต่วันแรกอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น ฟุตบอล เป็นสากลก่อน ฟุตซอล ดังนั้นชาติที่ทีมฟุตบอลที่แข็งแกร่ง นักฟุตบอลที่เก่งกาจ ก็จะได้เปรียบในการเริ่มเล่นฟุตซอลมากกว่าเป็นธรรมดาและอิหร่าน เป็นหนึ่งในนั้น อิหร่าน เป็นชาติที่มีพื้นฐานด้านฟุตบอลดีมาตั้งแต่แรก เก่งกว่าหลายๆ ชาติใกล้เคียง
ไม่ว่าชาติตะวันออกกลางที่มีเงินมากมายอย่าง ซาอุดิ อาระเบีย ยูเออี หรือ กาตาร์ ก็ไม่สามาถไล่ความสำเร็จของอิหร่านทัน พวกเขาเคยไปเล่นฟุตบอลโลกสมัยแรกในปี 1978 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ได้ทำให้ฟุตบอลในประเทศบูมแบบสุดๆ มีนักเตะเก่งๆ มากมายเกิดและได้อิทธิพลจากฟุตบอลโลกครั้งนั้น อาทิ อาลี ดาอี ดาวยิงตลอดกาลของ อิหร่าน
ทำไมอิหร่านถึงเก่งกว่าใครในแถบนั้นด้านฟุตบอล? ย้อนกลับไปไกลว่านั้นเกิน 100 ปีมีการบอกว่า อิหร่าน คือชาติแรกในภูมิภาคนี้ที่ได้รู้จักกับฟุตบอลที่ถูกนำเข้ามาโดยชาวอังกฤษที่เข้ามาขุดน้ำมันในยุคที่พวกเขายังถูกเรียกว่า “ประเทศเปอร์เซีย” ซึ่ง ณ ตอนนั้นฟุตบอลก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียนของผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนั้นในช่วงศตวรรษที่ 19-20 หลังพิสูจน์ได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการปฏิสัมพันธ์กับเด็กๆ ชาวเปอร์เซียและทำให้คนที่นั่นสุขภาพดี
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้อิหร่านหรือเปอร์เซียถือเป็นชาติแรกๆในภูมิภาคแห่งนี้ที่ได้รู้จักกับเกมลูกหนัง ก่อนที่มันจะกลายเป็นงานอดิเรกยอดนิยมของคนทั้งประเทศ รวมถึงชนชั้นแรงงานที่คุ้นเคยกีฬาชนิดนี้ผ่านกะลาสีเรือ และวิศวกรชาวอังกฤษที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน ฟุตบอลถูกนำเข้ามาโดยเจ้าหน้าที่ชาวยุโรปในความพยายาม เพื่อเปลี่ยนให้ผู้อยู่ใต้การปกครองกลายเป็น ‘บุคคลที่เชื่อฟัง’
อับดุลเลาะห์ อัล อาเรียน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าวในหนังสือ Football in the Middle East ที่เขาเป็นผู้แต่ง แล้วเรื่องนี้มันเกี่ยวกับฟุตซอลยังไงน่ะเหรอ? คำตอบง่ายๆ คือหลังจากอิหร่านได้ไปฟุตบอลโลกปี 1978 เพียงปีเดียวในปี 1979 ประเทศอิหร่านเกิดเหตุการณ์ปฎิวัติอิสลามและสงครามระหว่าง อิหร่าน กับ อิรักจึงทำให้พวกเขาไม่ได้ส่งทีมลงแข่งในนานาชาติตลอดระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี (1980-1988)
ดังนั้นในช่วงของการกลับมาส่งทีมแข่งขันทั้งในทวีปและระดับโลก จึงมาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงเข้าสู่ปี 1990 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะที่ ฟีฟ่า มีการผลักดันให้หลายๆ ชาติทำทีมฟุตซอลขึ้นมาพอดิบดีเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเทศสงบและเริ่มฟื้นฟูกีฬาทุกชนิด และฟุตซอลก็ได้อานิสงฆ์ไปด้วย เนื่องจากอิหร่านนั้นเป็นประเทศที่มีลีกฟุตบอลอาชีพเป็นของตัวเองและนักเตะหลายๆ คนที่เก่งกาจในฟุตบอลลีกก็ถูกเปลี่ยนสายเข้ามาเป็นนักฟุตซอลในช่วงแรกแบบยกชุด
ถ้าคุณเอาชื่อนักฟุตซอลทีมชาติอิหร่านในชุดฟุตซอลโลกปี 1992 ไปเสิร์ช คุณจะพบว่าประวัติของพวกเขาทุกคนล้วนเคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพมาก่อนทั้งสิ้นทั้งหมดที่ M8sbobet เว็บไซต์รับพนันฟุตบอลออนไลน์และกีฬาชั้นนำเรานำมาเสนอเล่นสูกันฟังในวันนี้คือ เรื่องของ ฟุตซอล หรือบอลโต๊ะเล็กที่นิยมเล่นกันใบ้านเรา ทุกพื้นที่ตำบล อำเภอ และจังหวัด ถ้าภาครัฐฯ ให้การสนันสนุนส่งเสริมต่อเนื่องเนื่อง
โดยเฉพาะให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับเยาวชนต่อยอดไปถึงการเป็นนักฟุตซอล สโมสรลีกอาชีพ น่าจะทำให้บอลโต๊ะเล็กนี้ประสบความสำเร็จในเวทีระดับโลก ก่อนฟุตบอลสนามใหญ่ของบ้านเรา ซึ่งแรกๆ ทำท่าจะดีแล้วเพราะมีการยกเครื่องชุดผู้บริหารใหม่หมด สุดท้ายก็ไม่วายขัดแย้งกันแต่หัววันและไม่ใช่เรื่องอื่นไกล ก็เรื่องผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายอยากจะได้เข้าข้างฝ่ายตัวเองนั่นแหละ