UFABET ฟุตซอลชิงแชมป์โลก รายการที่ไม่ได้เล็กตามชื่อ

UFABET

จากแชมป์เอเชีย UFABET สู่ตกรอบแรกเกิดอะไรขึ้นกับฟุตซอลญี่ปุ่น? ญี่ปุ่น คือเป็นมหาอำนาจของฟุตซอลเอเชียมาตั้งแต่ยุค 80s พวกเขามีระเบียบ รวดเร็ว และแข็งแกร่ง คว้าแชมป์ระดับทวีปมาก็เยอะ ตีตั๋วไประดับฟุตซอลโลกเป็นระดับขาประจำเสมอมา แต่คำถามคือทำไมหนนี้พวกเขาถึงตกรอบแรกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้? ชาติที่ขึ้นชื่อว่าเมื่อได้เดินหน้าแล้วไม่เคยถอยหลังเจอความผิดพลาดตรงไหน? มาติดตามที่นี่กัน

ญี่ปุ่นเก่งฟุตซอลได้อย่างไร? ประการแรกเลยฟุตซอลมีต้นกำเนิดมาจากประเทศแคนาดา โดยเริ่มต้นมาจากอากาศที่หนาวเหน็บจนต้องมาเตะฟุตบอลในโรงยิมและมีการปรับชื่อมาเป็นฟุตซอล ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่าฟุตซอลเกิดขึ้นในช่วงปี 1854 แต่แน่นอนว่าประเทศที่เอาฟุตซอลไปเล่นจนฮิตที่สุดคือ “บราซิล” บราซิลเป็นประเทศที่ว่ากันว่าเด็กทั้งผู้ชายและผู้หญิงทุกคนเตะฟุตบอลเป็นจริงอยู่ที่มันไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด อาจจะเป็นการเปรียบเทียบแบบภาพกว้างๆ ถึงความนิยมในกีฬาฟุตบอลของที่นั่น

อย่างไรก็ตามด้วยประเทศบราซิลเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีจำนวนประชากรมากและยังเป็นประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยมากนัก ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญและเป็นชุมชนแออัด ดังนั้นมันจึงยากที่พวกเขาจะมีการแข่งขันฟุตบอลสนามใหญ่ระดับ 11 คน เนื่องด้วยเรื่องของการลงทุนด้านต่างๆ ทั้งสนาม อุปกรณ์ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก แต่ในทางกลับกันแพสชั่นด้านฟุตบอลกลับไม่ลดลงแม้แต่น้อย

ดังนั้นรูปแบบการเล่นจึงออกมาเป็นแนวสตรีทฟุตบอล หรือฟุตซอลที่ใช้คนน้อยกว่า จัดการแข่งขันง่ายกว่าและลงทุนน้อยกว่า ซึ่งสตรีทฟุตบอลหรือฟุตซอลนั้นถือเป็นเสมือนกับเวทีแรกๆ ให้กับเด็กๆ ได้พัฒนาทักษะพื้นฐานต่างๆ และใครเก่งจริงก็จะได้ต่อยอดไปเล่นในฟุตบอลระดับที่สูงกว่าในอนาคต โดยนักเตะทีมชาติบราซิลหลายคนก็ผ่านฟุตซอลมาด้วยกันทั้งนั้น ก่อนที่จะไปเล่นฟุตบอลในช่วงอายุที่มากขึ้น อาทิ โรนัลดินโญ่ เนย์มาร์ และ วินิซิอุส จูเนียร์

ความนี้มันเกี่ยวอะไรกับญี่ปุ่น? ประการแรกเลยคือ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับบราซิลมาโดยตลอด ตั้งแต่รัชสมัยเมจิ (1868-1912) ไล่เรียงเรื่อยมาจนปัจจุบัน บราซิลเป็นประเทศที่มีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่มากที่สุดในโลก (นอกจากญี่ปุ่น) ด้วยจำนวนถึง 1.5 ล้านคน เมื่อมันเป็นเช่นนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันระหว่าง 2 ประเทศมากมายและฟุตซอลก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย ญี่ปุ่นมีสมาพันธ์ฟุตซอลเป็นของตัวเองตั้งแต่ยุค 80s และวัฒนธรรมฟุตซอลของพวกเขาก็เติบโตไปพร้อมๆ กับฟุตบอล

คล้ายๆ กับที่บราซิลเป็นที่ใช้เป็นการแข่งขันเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ได้มีการฝึกทักษะพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปเล่นบอล 11 คน ที่ตอบโจทย์กว่าในบั้นปลายวงการฟุตซอลญี่ปุ่นทำทุกทางเพื่อพัฒนาอย่างที่บอก เมื่อสหพันธ์ของพวกเขาแยกตัวเป็นเอกเทศ การพัฒนาและการจัดสรรงบประมาณจึงทำได้ง่าย มีลีกฟุตซอลระดับอาชีพที่ดึงนักเตะชื่อดังจากทั่วโลก โดยเฉพาะบราซิลมาเล่นที่นี่หลายคนและบางคนก็ถึงขั้น “โอนสัญชาติ” ติดทีมชาติญี่ปุ่นเลยก็มีอาทิ

อาตูร์ นักเตะทีมชาติบราซิลชุดแชมป์ฟุตซอลโลกปี 2008 ที่โอนมาเล่นให้ทีมชาติญี่ปุ่นในฟุตซอลโลกปี 2021 ที่ ลิธัวเนีย มาแล้ว ถ้าถามว่าญี่ปุนไปถึงระดับโลกหรือยัง เราคิดว่ายังพูดแบบนั้นได้ไม่เต็มปากนัก ญี่ปุ่นยังห่างจากชาติระดับหัวแถวอย่าง บราซิล อาร์เจนติน่า สเปน โปรตุเกส รัสเซีย และสเปน อยู่พอสมควร แต่ใช่ว่าจะไม่มีแววไล่ตามทัน ฟุตซอลของญี่ปุ่นตอนนี้ก้าวหน้าขึ้นมาก มีการให้ความสำคัญมีการสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชน

ทุกวันนี้คิดว่าระดับของฟุตซอลญี่ปุ่นมีสมดุลมากขึ้น คนญี่ปุ่นรักกีฬาฟุตบอล เช่นเดียวกันกับฟุตซอล มันกำลังเติบโตต่อเนื่องขึ้นทุกปีจุดแข่งของการพัฒนาคือ คนญี่ปุ่นกระตือรือร้นชอบจะเดินไปข้างหน้าและมีความรักชาติมากๆ ถ้าได้เล่นเพื่อชาติพวกเขาจะทุ่มเทกันสุดขีด 100% อย่างไรก็ตามปกติแล้วไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าญี่ปุ่นตั้งหลักได้แล้วพวกเขาจะเดินไปข้างหน้าเสมอ แต่กับฟุตซอลทำไมไม่เป็นแบบนั้น? ก่อนฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 อย่างที่หลายคนรู้กันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024 หนนี้เป็นเหมือนการหาตัวแทนไปเล่นฟุตซอลโลกที่ประเทศ อุซเบกิสถาน

การที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้กลับมาใช้โค้ชชาวญี่ปุ่นอีกครั้ง ก่อนทัวร์นาเม้นต์เริ่ม 1 ปี ด้วยการแต่งตั้ง เคนอิจิโระ โคกุเระ ที่เคยเป็นอดีตผู้ช่วยของโค้ช บรูโน่ การ์เซีย ในชิงแชมป์โลกปี 2021 ในวันที่รับตำแหน่งนั้น โคกุเระ ให้ความมั่นใจว่าพวกเขาจะผ่านเข้ารอบชิงแชมป์เอเชีย ที่วางเป้าไปถึงแชมป์ก็เพื่อตีตั๋วไปฟุตซอลโลกโดยอัตโนมัติ “พวกเราตั้งเป้าจะพาทีมชาติญี่ปุ่นไปถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตซอลโลก” โคกุเระ กล่าว

“สิ่งที่เราจะต้องแก้ไขเพื่อไปให้ถึงจุดนั้นคือ เรื่องของการเล่นเกมรับเวลาที่เจอกับคู่แข่งที่เก่งกว่า เราจะเล่นเกมบุกให้เร็วขึ้น และสิ่งที่จะลืมไม่ได้เลยคือ เราจะคัดเลือกนักเตะหนุ่มๆ สายเลือดใหม่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมชุดนี้” และคีย์เวิร์ดของความล้มเหลวอยู่ที่คำว่า “เลือดใหม่” โคกุเระ ให้สัมภาษณ์ก่อนการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียมาตลอดว่า พวกเขาค่อนข้างมั่นใจกับการแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย ว่าอย่างน้อยจะต้องเข้ามาเป็น 1 ใน 4 ได้

ดังนั้นจึงมีการพยายามหานักเตะใหม่มาลงเล่นตลอดช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาเพื่อที่จะได้ผลประโยชน์ระยะยาวไปด้วย โคกุเระ เรียกนักเตะอายุน้อยมาจริงตามคาด เขาเอาลงเล่นเกมกระชับมิตรที่แพ้ บราซิล 1-5 แต่เขาบอกหลังเกมว่า เขาไม่ติดใจเรื่องแพ้เลยเพราะนักเตะแสดงทัศนคติที่ดีออกมา และการแพ้จะเป็นการเสริมกระดูก ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ญี่ปุ่นเชิญอาร์เจนติน่ามาอุ่นเครื่องและจบลงด้วยผลเสมอ ซึ่งนั่นทำให้ โคกุเระ ชื่นชมนักเตะหนุ่มเลือดใหม่หลายคนที่ทำผลงานได้ดี

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตซอลญี่ปุ่นอย่าง ทาเคโอะ โกโตะ คอลัมนิสต์ของนิตยสารกีฬาชื่อดังระบุเมื่อ 1 ปีก่อนว่า เขายังค่อนข้างเป็นห่วงทีมชุดนี้เพราะการเสมอ อาร์เจนติน่า อาจจะเป็นภาพลวงตาเพราะทัวน์นาเม้นท์นี้ อาร์เจนติน่า เอาผู้เล่นชุดที่ 2 มาแข่งอีกทั้งยังเดินทางโดยใช้เวลานานมากต้องเปลี่ยนไฟต์รวม 30 ชั่วโมงและลงเล่นหลังได้พักเพียงแค่ 2 วัน “ผมไม่แน่ใจว่าญี่ปุ่นจะทานทนกับทีมระดับโลกไหวหรือไม่?

เมื่อการแข่งขันจริงมาถึงเรากำลังเปลี่ยนถ่ายเจเนอเรชั่น ใช้โค้ชในประเทศและตั้งเป้าไว้ไกลมาก เราคงต้องไปวัดกันในฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งต่อไป” ซึ่งการเปลี่ยนเลือดใหม่แล้วมาใช้ในฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียก็ทำให้คำถามนี้ได้คำตอบ ไม่ต้องรอให้ถึงฟุตซอลโลกเลยทีเดียว เมื่อทุกชาติเก่งขึ้น ต้องวิเคราะห์กันใหม่ การผลักดันนักเตะเลือดใหม่ๆ ในระดับเอเชียถือเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นทำมาเสมอ

พวกเขาทำแบบนี้กับฟุตบอลชายที่ให้เยาวชนแบกอายุเล่นในรายการระดับทวีป หรือบางครั้งก็ไม่เรียกนักเตะที่ดีที่สุดมา เพราะต้องการเปิดโอกาสเพื่อหาเพชรเม็ดใหม่ๆ ซึ่งในเอเชี่ยน คัพ 2024 ก็เช่นกันเพียงแต่ว่าเรื่องมันเกินคาดของพวกเขาไปหน่อย อย่างที่รู้กันว่าฟุตซอลคือกีฬาที่เตรียมตัว เตรียมการ เตรียมทีม ได้ง่ายกว่าฟุตบอล อีกทั้งหากมองในแง่เหรียญรางวัลฟุตซอลคือ โอกาสของชาติที่ไม่ได้เก่งฟุตบอลมาก ได้ใช้ฟุตซอลพัฒนาแบบไต่ระดับ ยกตัวอย่างเช่น

หลายๆ ชาติในเอเชียที่ฟุตบอลไม่เคยได้เฉียดฟุตบอลโลกเลย แต่กับฟุตซอลที่มีคู่แข่งน้อยกว่า ความเข้มข้นในการแข่งขันน้อยกว่า กลับไปถึงศึกชิงแชมป์โลกได้เป็นประจำ เอาแค่ในอาเซียนก็พอจะรู้ได้ว่าทีมในอาเซียนเก่งฟุตซอลขึ้นมาก สัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างชัดเจนของวงการฟุตซอลอาเซียนคือ การเข้าสู่เวทีฟุตซอลชิงแชมป์โลกของทีมชาติเวียดนามในปี 2016 และพวกเขาก็ยังคงรักษาระดับของตนไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

จนกลายเป็นทีมขาประจำในปัจจุบันและนี่แสดงให้เห็นว่า ฟุตซอลไทย ไม่ได้เป็นทีมระดับโลกเพียงทีมเดียวในภูมิภาคอาเซียนอีกต่อไปแล้ว อินโดนีเซีย ถือเป็นอีกทีมที่พัฒนาตัวเองได้ดีเช่นเดียวกัน แม้จะยังไม่มีโอกาสได้ลงเล่นในฟุตซอลชิงแชมป์โลกเหมือนไทยกับเวียดนาม แต่ในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 ที่ผ่านมาพวกเขาสามารถเสมอทีมชาติไทยได้ทั้ง 2 แมตช์ ก่อนจะแพ้จุดโทษในนัดชิงชนะเลิศ

ซึ่งภาพรวมๆ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานที่แม้แต่ญี่ปุ่นก็ประมาทไม่ได้เลย ขนาดประเทศในอาเซียนที่พื้นฐานฟุตบอลไม่ได้ดีมากยังพัฒนาฟุตซอลได้เร็วขนาดนี้ ชาติอื่นๆ ในเอเชียก็ไม่น้อยหน้าและญี่ปุ่นก็ได้รู้จริงๆ เมื่อพวกเขาลงเล่นในเอเชี่ยน คัพ 2024 และแพ้ให้กับ คีร์กีซสถาน 2-3 ถือเป็นการทำตัวเองขายหน้า อย่างไรก็ตามสิ่งทีต้องยอมรับคือความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น เกิดจากความสามารถที่ไม่มากพอสำหรับครั้งนี้เท่านั้น

มันไม่ได้ล่มสลายสำหรับสิ่งที่ทำมาญี่ปุ่นจะพยายามให้มากขึ้น มองกลับไปที่ความพ่ายแพ้และวิเคราะห์มันอย่างละเอียด สำหรับทีมชาติญี่ปุ่นถ้าได้เริ่มแล้วพวกเขาไม่เคยหยุด การพ่ายแพ้ครั้งนี้อันที่จริงแล้วมันก็ส่งผลเสียหาย เพราะมันทำให้พวกเขาไม่ได้ไปเล่นฟุตซอลโลก แต่อย่างน้อยมันก็เป็นสัญญาณเตือนครั้งสำคัญว่า ณ ตอนนี้ความเข้มข้นในเวทีฟุตซอลไม่ว่าจะในระดับโลกหรือในระดับทวีปได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก