โอลิมปิกเกมส์ 2020 กับเทคโนโลยีลดมลภาวะโลกร้อน

ข่าวกีฬา

จากบทความก่อนหน้าที่เคยพูดถึงเรื่อง โตเกียว 2020 ทัวร์นาเมนต์สีเขียวแห่งการรักษ์โลก ที่ประเทศญี่ปุ่นยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นคอนเซ็ปในการจัดงานและวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงแผนงานและมาตรการพิเศษที่ออกมาใช้ ว่ามันสามารถได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในระหว่างการแข่งขัน แผนดังกล่าวยังสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อของสหประชาชาติ ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก รวมไปถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 

รายการนี้จึงมีแผนที่จะนำพลังงานทดแทนมาใช้อย่างเต็มตัว โดยจะใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในการแข่งขัน และใช้ในหมู่บ้านพักนักกีฬา เจ้าภาพญี่ปุ่นยังได้สร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนถนน และเคลือบผิวถนนด้วยยางธรรมชาติ ทำให้ถนนแห่งนี้สามารถใช้ในการสัญจรได้จริง และพลังงานไฟฟ้าที่ได้นี้ ถูกนำไปใช้ในช่วงการแข่งขันได้อีกด้วย

อย่างที่รู้กันว่าเมื่อหลายปีก่อน ประเทศญี่ปุ่นเคยประสบภัยกับคลื่นยักษ์สึนามิ และได้มีผลกระทบไปถึงโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากนิวเคลีย เพราะมีสารกัมตภาพรังสีรั่วไหลออกจากถังเก็บ และไหลลงสู่ท้องทะเลจำนวนมาก จากเหตุการณ์ครั้งนั้นรัฐบาลได้ให้ความสำคัญ กับการหาพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ และจำกัดการใช้ลงอย่างมีประสิทธิภาพ

แผนมาตรการประหยัดพลังงาน และวิธีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างเกมการแข่งขัน  ซึ่งจะใช้พลังงานทดแทน อย่างไรก็ดี ในการแข่งขันกีฬาจะมีนักกีฬา สต๊าฟโค้ช และเจ้าหน้าที่นับพัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ในระหว่างทัวร์นาเมนต์ 

โอลิมปิกและพาราลิมปิก เป็นการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากนักกีฬานับพัน จึงไม่ได้เป็นเรื่องเล็กๆ แต่ญี่ปุ่นเห็นเป็นโอกาสสำคัญที่จะแสดงให้โลกเห็นว่า จะลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร และนี่คือวิธีที่พวกเขาใช้จัดการเทคโนโลยีลดมลภาวะ  ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในผู้นำทางเทคโนโลยียานยนต์ของโลก หลังจากเคยปล่อยนวัตกรรมที่ทำให้โลกตะลึงมาแล้ว ในโอลิมปิก 1964 ด้วยการเปิดตัวรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็น ทำให้ครั้งนี้พวกเขาตั้งเป้าที่จะใช้ศักยภาพที่มีมาช่วยเรื่องรักษ์โลกบ้าง 

แน่นอนว่าในการแข่งขันกีฬาครั้งใหญ่ สิ่งที่หลายฝ่ายเป็นห่วงคือระบบขนส่งมวลชน นอกจากรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว พวกเขาได้เตรียมแท็กซี่ไว้รองรับสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ เจแปน แท็กซี จากโตโยต้า  (JPN TAXI) เป็นรถแท็กซี่ขนาดใหญ่ มีลักษณะหลังคาทรงสูง ประตูบานเลื่อนแบบสไลด์ พร้อมทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็น และที่สำคัญเจแปนแท็กซี ยังเป็นรถประหยัดพลังงาน ด้วยเครื่องยนต์แบบไฮบริดที่รองรับทั้งก๊าซ LPG และไฟฟ้า โดยก๊าซ 1 ลิตร สามารถวิ่งได้ไกล 19.4 กิโลเมตร ซึ่งไกลกว่าแท็กซีปกติถึงสองเท่า ส่วนรถที่ใช้ไฟฟ้าระบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่การชาร์ทหนึ่งครั้ง จะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 100 กิโลเมตร โดยมีความเร็วสูงสุด 19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่เพียงแต่การขนส่งมวลชนเท่านั้น ผู้จัดการยังนำเทคโนโลยีมาใช้ลดปริมาณอาหารในหมู่บ้านนักกีฬา ที่จะเป็นการช่วยลดขยะที่จะเกิดขึ้นในการแข่งขันครั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลปริมาณอาหารเย็นที่ต้องการในหมู่บ้านนักกีฬา จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถลดจำนวนของบรรจุภัณฑ์ลงได้มาก โดยร่วมมือกับสปอนเซอร์ ผู้ได้รับอนุญาต และผู้จัดส่งในสนามแข่งขันครับ